Categories: Uncategorized

>> พระมหากษัตริย์นักออมเงิน หลักวิธีการออมเงินของในหลวง รัชกาลที่9

>>บทความนี้ได้นำแนวคิดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารการเงินของพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างเพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปปฏิบัติตาม ทรงแสดงให้เห็นถึงความประหยัด เรียบง่าย และพอเพียง ซึ่งเป็นสิ่งที่พสกนิกรชาวไทยสามารถน้อมนำแนวคิดมาปฏิบัติตาม

ดังพระราชดำรัสที่ว่า

“การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๒

จึงสรุปได้เป็นข้อๆดังนี้

  • สมเด็จย่าผู้ปลูกฝังเรื่องการออม
    >> ในหลวงรัชกาลที่9 ทรงได้รับการปลูกฝังเรื่องการออมเงินจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยทรงได้รับเงินค่าขนมเป็นรายสัปดาห์ เพื่อเป็นการสอนให้รู้จักจัดสรรเงินไว้ใช้ และเมื่ออยากได้อะไรก็ให้เก็บเงินซื้อด้วยพระองค์เอง เพราะสมเด็จย่า จะไม่ทรงซื้อของขวัญให้พร่ำเพรื่อ โดยจะซื้อให้เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น เฉพาะในวันปีใหม่และวันเกิด
    >>เมื่อครั้งพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ก็ทรงซื้อกล้องถ่ายรูป ด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ และเมื่อพระชนมายุ 10 พรรษา ทรงนำเงินที่เก็บออมไว้ซื้อเครื่องดนตรีชิ้นแรก คือ คลาริเน็ต แสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านได้รับการปลูกฝังเรื่องการออมที่ดีจากสมเด็จย่ามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์
  • สอนให้ฝากเงินในธนาคาร อย่างเป็นประจำเสมอมา
    >> ตามคำสอนของสมเด็จย่า ในหลวงรัชกาลที่9 ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทรงเก็บออมเงินไว้กับธนาคารอย่างต่อเนื่อง ผ่านสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารออมสินส่วนพระองค์ ซึ่งมีเงินฝากเข้าเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงกำชับให้พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เห็นคุณค่าของการออมด้วยการให้เปิดบัญชีไว้

ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสของพระองค์หลายต่อหลายครั้ง ที่ทรงให้ความสำคัญต่อการออมเป็นอย่างยิ่ง

คำสอนของในหลวงรัชกาลที่9 เราสามารถมาปรับใช้และสอนคนในครอบครัวของเราได้ เพราะในปัจจุบันการออมเงินแตกต่างจากสมัยก่อน เพราะมีสินทรัพย์ทางการเงินเกิดขึ้นมากมายให้เลือกลงทุน

เมื่อเด็กเติบโตจนกระทั่งเรียนเรื่องการคำนวณเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว ควรทำให้เด็กรู้ว่าที่กำลังเรียนอยู่นี้ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบแล้วก็ลืมไปเท่านั้น เราอาจจะนำตัวเลขในสมุดบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์หรือฝากประจำ แล้วก็สอนการคำนวณจากตัวอย่างจริง เพื่อให้รู้ว่าการเงินเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา

  • ทรงประหยัด มัธยัสถ์ และใช้ของให้คุ้มค่ามากที่สุด
    >> ทรงเป็นต้นแบบของการประหยัด มัธยัสถ์ อย่างแท้จริง จนเคยมีครั้งหนึ่งสมเด็จย่ามีพระดำรัสว่า “ในสวนจิตรเนี่ย คนที่ประหยัดที่สุดคือ ในหลวง ประหยัดที่สุดทั้งน้ำ ทั้งไฟ เรื่องฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยไม่มี” ซึ่งเราจะเห็นได้จากของใช้ส่วนพระองค์ ที่ทรงใช้ทุกอย่างแบบรู้คุณค่า และคุ้มค่าที่สุด

แนวคิดด้านการเงิน ทรงปลูกฝังความพอเพียง

>> การรู้จัก “พอเพียง” ใช้จ่ายเท่าที่มี ไม่ยึดติดกับค่านิยม หรือวัตถุ ใช้จ่ายซื้อสิ่งของบางอย่างที่ไม่จำเป็น แล้วก็อยากซื้อเพื่อจะได้เหมือนคนอื่น หรือซื้อเพราะโฆษณา โปรโมชั่น ช่วยให้เงินเก็บเพิ่มมากขึ้นและสร้างความมั่นคงของชีวิตในอนาคตได้อีกด้วย

>> เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถนำเงินที่เก็บไว้มาใช้จ่ายโดยที่ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน ดังนั้น ความพอเพียงปลูกฝังได้ด้วยการกระทำ การมองโลกอย่างเข้าใจในการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย

  • การสร้างรายได้และปลูกฝังการรู้จักให้ พร้อมกับการลงทุนควบคู่ไปด้วย
    >> เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ที่ได้รับการอบรม จากสมเด็จย่าเรื่องการให้ ด้วยการทรงตั้งกระป๋องออมสินที่เรียกว่า “กระป๋องคนจน” ไว้กลางที่ประทับ

>> เมื่อพระองค์นำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูกเก็บภาษี ด้วยการต้องนำมาหยอดใส่กระปุกนี้ 10% และทุกสิ้นเดือน สมเด็จย่าจะทรงเรียกประชุมเพื่อสอบถามความคิดเห็นว่า จะนำเงินสะสมที่ได้จากการเก็บภาษีไปใช้ทำอะไร เช่น อาจจะนำไปมอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน เป็นต้น

>> นอกจากการออมแล้ว ในหลวงรัชกาลที่9 ยังเป็นผู้ที่รู้จักนำเงินที่ออมได้มาลงทุนควบคู่กันไปด้วย เห็นได้จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่เริ่มต้นลงทุนจากเงินสะสมส่วนพระองค์เพียง 32,866 บาท จนกลายเป็นโครงการที่เติบโตมาถึงทุกวันนี้

> เราสามารถนำเรื่องราวนี้มาประยุกต์ใช้กับตนเองได้ ในเรื่องของการสร้างรายได้ โดยเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ก่อน เมื่อทำจนประสบความสำเร็จแล้วมีกำไรก็ค่อย ๆ ขยายให้เติบโตมากขึ้น

ในการจัดการบริหาร การประหยัดเงินนั้น ทำได้โดยจัดสรรปันส่วนแบ่งเงินรายได้ ออกมาเป็น 3 ส่วน คือ

  • แบ่งเงินเพื่อเก็บออม ส่วนใหญ่ทำไม่ค่อยได้และมักจะพูดว่ายากเสมอ แต่หากมีเป้าหมาย เชื่อหรือไม่ว่า ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ การออมเงินก็เช่นกัน โดยอาจเริ่มจากการออมเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • แบ่งเงินรายจ่ายทุกเดือน ควรแบ่งเพื่อชำระหนี้ที่มีให้ตรงตามเวลา เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ต่าง ๆ ให้เป็นวินัย
  • เงินที่ต้องใช้ในชีวิตประจำ ซึ่งในแต่ละวันคุณอาจทำบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของเงินแต่ละบาทนั้น เสียไปกับเรื่องที่คุ้มค่าและมีประโยชน์จริงหรือไม่

นอกจากนี้เราควรรู้จัก“การให้” จะทำให้เรากลายเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน เสียสละ เห็นใจผู้อื่น และกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวในเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม และยังให้เห็นคุณค่าที่เราเองได้หยิบยื่นให้ผู้อื่นอีกด้วย ตามกำลังทรัพย์ที่มีและไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสมอไป

เรื่องราวเหล่านี้ที่พระองค์ทรงปฎิบัตินั้นทำให้เรารู้ว่า การประหยัดเป็นวิธีการที่เราเริ่มทำได้ทันที

โดยการใช้ของที่มีให้หมด ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด สมดั่งที่ทรงเป็นต้นแบบด้านการอดออม และบริหารเงินอย่างพอเพียงให้กับเราชาวไทย

ซึ่งทุกคนสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรื่องของตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของบทความ Kapool,dhammathai

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย