การลงทุน

+++ ภาษีมรดก…..คืออะไร !!!!!

มารู้จักภาษีมรดกกัน

ภาษีมรดก คืออะไร?

“ภาษีมรดก” คืออะไร อัตราภาษีมรดก ที่ต้องถูกเรียกเก็บในกรณีที่ได้รับทรัพย์สินหรือมรดกเป็นอย่างไร เราจะพาไปไขข้อข้องใจกัน

>>> ข่าวคราวการออก พ.ร.บ.ภาษีมรดก พร้อมเปลี่ยนแปลง อัตราภาษีมรดก ใหม่ อาจทำให้หลายคนที่ไม่คุ้นหูกับภาษีชนิดนี้เริ่มหันมาสนใจและอยากรู้จัก ภาษีมรดก กันมากขึ้น โดยเฉพาะทายาทหรือบุคคลที่มีโอกาสได้รับมรดก วันนี้จึงมีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ ภาษีมรดกและอัตราภาษีมรดก มาให้ทำความเข้าใจกัน

“ภาษีมรดก คืออะไร”

>>> ภาษีมรดก เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากพ่อ-แม่ คนในครอบครัว หรือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เสียชีวิตลง ให้กับทายาทหรือผู้รับมรดก โดยเป็นการเรียกเก็บที่นิยมทำกันในประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อความยุติธรรมในการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการเสียภาษี หรือเรียกว่าเก็บภาษีตามฐานะ โดยจะคำนวณจากทรัพย์สินในกองมรดกทั้งหมดที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิตไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก และสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

“ภาษีกองมรดก”

>>เป็นการรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เสียชีวิตมาประเมินภาษีและชำระตามจำนวนที่ประเมินได้ จากนั้นจึงนำทรัพย์สินตกทอดไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก โดยจะเป็นการจัดเก็บแบบอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าของกองมรดก ซึ่งมีข้อดีในการจัดเก็บภาษีได้มากและเป็นธรรมตามมูลค่ามรดก แต่มีข้อเสียคือเป็นการจัดเก็บแบบเหมารวม ดังนั้นเมื่อทายาทนำมรดกไปแบ่งกันอาจทำให้คนที่ได้รับมรดกน้อยเสียภาษีเท่ากับคนที่ได้รับมรดกมากกว่า

“ภาษีการรับมรดก”

>เป็นการจัดเก็บภาษีหลังการแบ่งมรดก โดยผู้รับมรดกแต่ละคนเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งจะมีอัตราไม่เท่ากันตามจำนวนมรดกที่ได้รับ แต่ลำดับชั้นของสิทธิในการรับมรดก เช่น ผู้รับมรดกแบบพินัยกรรม ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยตรงก็จะเสียภาษีมากกว่าทายาทโดยตรง เป็นต้น

ข้อดี>>ของภาษีชนิดนี้ คือเมื่อแบ่งมรดกออกเป็นส่วน ๆ ให้ทายาทแต่ละคนแล้ว จะมีโอกาสที่ต้องเสียภาษีน้อยกว่า เพราะมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการจัดเก็บภาษีมรดก หากจำนวนมรดกที่ได้รับไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ต้องเสียภาษี

ข้อเสีย>>คือภาครัฐจัดเก็บภาษีได้ยาก และการเรียกเก็บเป็นรายคนต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการเก็บแบบรวม

“ใครต้องเสียภาษีมรดก”

ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดก>> คือผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดก ซึ่งแบ่งออกเป็น ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม ซึ่งเรียงลำดับได้รับมรดกก่อนและหลังดังนี้

“ทายาทโดยธรรม”

  • ลูกเจ้าของมรดก, ลูกนอกสมรสที่รับรองบุตรแล้ว, ลูกบุญธรรม และคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
  • บิดา-มารดาแท้ ๆ ของเจ้าของมรดก
  • พี่-น้อง ร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน
  • พี่-น้อง ร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน
  • ปู่-ย่า-ตา-ยาย
  • ลุง-ป้า-น้า-อา

“ผู้รับพินัยกรรม”

>>คือผู้ที่ถูกกำหนดไว้ว่าให้รับมรดกจากเจ้าของมรดกที่เสียชีวิต หรือสิทธิตามพินัยกรรม ทั้งนี้ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้ แตกต่างกันที่ทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น

“อัตราภาษีมรดก”

สำหรับ “อัตราภาษีมรดก” ที่ถูกเรียกเก็บในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2557) จะแบ่งการเสียภาษีออกเป็นขั้นดังนี้

  • หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ไม่เสียภาษีมรดก
  • หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 4 ปี เสียภาษีมรดก 10% ของมูลค่ารวม
  • หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 3 ปี เสียภาษีมรดก 20% ของมูลค่ารวม
  • หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 2 ปี เสียภาษีมรดก 30% ของมูลค่ารวม
  • หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต น้อยกว่า 2 ปี หรือเสียชีวิตก่อนโอน เสียภาษีมรดก 40% ของมูลค่ารวม

‘อัตราภาษีมรดก 2558″

>>หลังจากมีการหาข้อสรุปในการจัดเก็บภาษีมรดกกันมานาน และกรมสรรพากรได้เสนอให้มีการอนุมัติ พ.ร.บ.ภาษีมรดกใหม่ พร้อมเตรียมผลักดันให้มีการบังคับใช้ในปี 2558 แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปอัตราภาษีมรดกที่แน่ชัด โดยมีเพียงการคาดการณ์ไว้ดังนี้

  • เก็บภาษีมรดกจากผู้รับ 5% ของมูลค่าทรัพย์สิน แต่ไม่เกิน 30%
  • เก็บภาษีมรดกอัตราเดียว 10% ของมูลค่าทรัพย์สิน และยกเว้นสำหรับมรดกที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
  • เก็บภาษีกองมรดกแบบขั้นบันได ดังนี้
  • ทรัพย์มรดกสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก
  • ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%
  • ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%

“เก็บภาษีการรับมรดกเป็นขั้นบันได ดังนี้”

  • ทรัพย์สินสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก
  • ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%
  • ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 40 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%

“ทั้งนี้เป็นเพียงการคาดเดาอัตราภาษีมรดก ปี 2558 ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามความคืบหน้าต่อไป แต่เบื้องต้นคงทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับภาษีมรดกกันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเตรียมตัวเนิ่นๆ”

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย