การลงทุน

+++ มาออมเงิน…..ด้วยการจดบันทึก

>> “เงิน เงิน เงิน” ชื่อนี้เป็นตัวการสำคัญในการดำรงชีวิตของคนเราในปัจจุบัน แต่ถ้าเกิดอาการ ร้อนเงินขึ้นมาหลายๆครั้งแล้วละก็ อาจจะทำให้เราคงไม่มีเงินเก็บเป็นของตัวเองแน่นอน ไหนๆแล้วเรามาเริ่มต้นทำสิ่งดีๆ ให้กับชีวิตตัวเองกันหน่อย โดยวิธีการง่ายๆ แต่หลายคนปฏิบัติกันได้อยากนั้นก็คือ การจดบันทึกรายรับรายจ่ายของเราเองหรือหากทำกันเป็นครอบครัวก็เรียกว่า สมุดบัญชีครัวเรือน อ่านเพิ่มเติม

>>การจดบันทึกรายรับรายจ่าย เห็นหลักปฏิบัติง่ายๆ แบบนี้ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ทุกคนและทุกวัน อย่างแรกเราต้องสร้างแรงจูงใจเสียก่อน ไม่เช่นนั้นความขี้เกียจจะเข้าครอบงำ จดบันทึกรายรับรายจ่ายแค่วันแรกๆ แล้วก็ปล่อยเว้นให้สมุดจดมันว่างจนขึ้นเดือนใหม่ ถ้าหากปล่อยให้พฤติกรรมเป็นแบบนี้ แล้วเมื่อไรจะมีเงินเก็บเป็นของตัวเอง เอ้า สู้กันหน่อย

วิธีการง่ายๆ การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย

  • หาสมุดที่ใช่สำหรับเรา
    >>ใครที่ชอบสมุดลายตุ๊กตา น่ารักๆ หรือ ลายเรียบๆ แต่หรูหรา ก็ลองหามาใช้กัน ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนซื้อสมุดที่ใช่ แต่ก็ถือว่าการลงทุนครั้งนี้คุ้มค่าพอสมควร แต่ใครที่กำลังใช้สมารท์โฟนก็ควรหาแอพฯโดนๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจดบันทึกรายรับรายจ่ายมาลองใช้กัน
  • ดีไซน์การจดให้ไม่น่าเบื่อ
    >>สไตล์การจดบันทึกหรือการเขียนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบความเป็นระเบียบอ่านง่าย บางคนชอบความรวดเร็ว กินอะไร ซื้ออะไรก็จดลงไป แต่บางคนขี้เกียจก็เอาใบเสร็จที่ไปซื้อข้าวของมาเย็บติดใส่สมุดไปเลยเหมือนกัน แต่เทคนิคที่เราจะบอกก็คือ ลองใส่จินตนาการลงไปในสมุดจดบันทึกของเราดู ความน่าเบื่อก็จะพลันหายไป กลายเป็นความสนุกสนานในการจด เช่น ลองแต่งแต้มสีสัน หรือ ใช้ปากกาสีในการจด รวมถึงการวาดรูปภาพแทนตัวหนังสือ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถจดบันทึกได้ทุกวัน
  • เริ่มจรดปากกากันเลย
    >>อย่างแรกเราต้องเขียนรายรับกันเสียก่อน สำหรับใครที่ยังเป็นนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับเงินค่าขนนเป็นรายวัน ก็จดไว้ก่อนว่าวันนี้ได้เงินมาใช้จ่ายกี่บาท ส่วนใครได้ค่าใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ก็ควรจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นรายวันเสียก่อน เช่น ได้เงินประจำสัปดาห์มา 500 บาท ก็แบ่งเงินออกเป็นวันละ 100 บาท เพื่อเป็นการบริหารจัดการเงินที่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่าได้เงินมา 500 บาท แล้วไม่แบ่งเงินออกเป็นรายวัน เชื่อ ว่าวันจันทร์ค่าใช้จ่ายรายสัปดาห์ก็คงจะหมด >>สรุปว่าสัปดาห์นั้นก็ต้องขอเงินเพิ่ม หรือ ไม่ก็ต้องเอาเงินเก็บออกมาใช้ก่อน
    ส่วนใครที่ทำงานแล้วแน่นอนว่าวงจรมนุษย์เงินเดือนที่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกันคือ ต้นเดือนกินแบบราชา กลางเดือนแบบเจ้าหญิง ปลายเดือนกินแบบยาจก ซึ่งการบริหารจัดการเงินในแต่ละวันก็ใกล้เคียงกับที่กล่าวไปข้างต้น คือ แบ่งเงินค่าใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ โดยกำหนดว่าในแต่ละวันควรใช้เงินตกวันละกี่บาทนั่นเอง
  • จดรายจ่าย
    แน่นอนเมื่อเห็นรายรับกันแล้ว สิ่งที่จะเห็นต่อไปนี้คือรายจ่าย…..
  • สรุปรายจ่ายในแต่ละเดือน
    >>เมื่อเราสรุปรายจ่ายในแต่ละวันแล้ว เราก็ควรจะสรุปรายจ่ายในแต่ละเดือนด้วย โดยในขั้นตอนตรงนี้เองเราจะเห็นภาพการใช้จ่ายที่จำเป็นและรายจ่ายที่แสนจะไร้สาระกันเลยที่เดียว แน่นอนว่าในเดือนถัดไป ถัดไป ถัดไป และถัดไป เงินที่เหลือในการใช้จ่ายในแต่ละวันจะเพิ่มขึ้นเงินเก็บในแต่ละเดือนก็จะทวีคูณขึ้นเช่นกัน

“ซึ่งหากเราทำเช่นนี้ทุกวัน และทุกเดือน อาการร้อนเงิน และเงินร้อนก็จะหมดไป เพราะเราใช้เงินอย่างมีสติมากขึ้น รับรู้รายได้ และรายจ่ายมากขึ้น ที่สำคัญเงินเก็บที่เราฝันไว้เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นด้วยเช่นกัน”

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย