“เริ่มต้น” เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเวลาที่ใช้หาเงินกับเวลาที่เราต้องใช้เงินกันก่อน สมมุติว่าถ้าเราเริ่มทำงานที่อายุ 21 ปี และจะเกษียณที่อายุ 60 ปี ก็เท่ากับว่าเรามีเวลาทำงานหาเงิน 39 ปี ซึ่งค่าเฉลี่ยคนทั่วไปขณะนี้จะมีอายุถึงประมาณ 89 ปี นั่นคือถ้านับจากวันนี้ที่เริ่มทำงานหาเงินถึงวันสุดท้ายของชีวิต เราต้องใช้เงิน 68 ปี และที่สำคัญใช้เงินตอนเกษียณแล้วหาเงินไม่ได้แล้ว 29 ปี ยิ่งถ้าเราเริ่มคิดเก็บเงินเพียง 29 ปี สำหรับการใช้เงิน 68 ปีที่เดียว
สรุปแล้วเราต้องทำงานและแบ่งบางส่วนเก็บออมลงทุน 1 ปี เพื่อใช้เงิน 2 ปี โดยประมาณ ทางที่ดีต้องมีวินัยถึงจุดที่กันเงินได้แต่ต้นเดือนไว้เลยว่าไปลงทุนเท่าไร ใช้เท่าไร ไม่ใช้เท่าไร ถ้าเหลือก็จะลงทุน คิดถึงชีวิตหลังเกษียณมากๆ ตอนนั้นท่านจะต้องเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตอีกหลายๆอย่าง รายได้เพิ่มเติมก็จะหมดไป รายจ่ายใหม่ๆ จะเพิ่มมากขึ้นโดยรายจ่ายด้านสุขภาพการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น รายจ่ายประจำก็คงอยู่ ท่านคิดว่าเมื่อเกษียณแล้วท่านต้องใช้จ่ายประมาณเดือนละเท่าไร หรือ ร้อยละเท่าไรของเงินเดือน เดือนสุดท้ายยามเกษียณงาน ซึ่งน่าจะประมาณร้อยละ 70 และข้อที่จะต้องระวังให้ดีก็คือ อย่าใช้เงินมากกว่าที่หามาได้ ไม่งั้นไม่นานก็หมด และถ้าใช้เท่ากับที่หามาได้เพิ่มเจอ Inflation ก็หด ดังนั้น ต้องหาให้ได้ใช้ให้เป็น แบ่งบางส่วนตั้งแต่ต้นเพื่อการลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 25 หรือ 1ใน4 ก็ยังดี ใหม่ๆ ก็หนักหน่อย ทำไปเรื่อยๆ 3 ใน 4 ที่เหลือก็จะมากพอที่จะให้ความสุขอย่างพอพียงมั่นคงยังยืนได้
การวางแผนการลงทุนเพื่อการสร้างความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและมั่นคงในโลกของการลงทุนมีวิธีให้ลงทุนหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีอัตราผลตอบแทน และ อัตราความเสี่ยง แตกต่างกัน ผลตอบแทนมากมักจะมีความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงมีความหมายง่ายๆ หมายถึงความผันผวน ความไม่แน่นอนของผลตอบแทน ถ้าผลตอบแทนเท่ากันก็ต้องเลือกลงทุนที่มีความเสียงต่ำกว่า ความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ รายได้ ทัศนคติ รสนิยม การตัดสินใจ ซึ่งในการลงทุนแต่ละประเภทนอกจากจะมีผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ไม่เท่ากันแล้ว ภาระภาษีก็ต่างกันด้วย
“จึงขอสรุปแยกประเภทภาระภาษีผ่านการลงทุนดังนี้”
การฝากเงินผ่านสถาบันการเงิน
>> ดอกเบี้ยทั่วไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และได้สิทธิไม่คำนวณปลายปี
>> ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ยกเว้นภาษี สำหรับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
>> ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ยกเว้นภาษี
>> ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิเศษของ ธกส. ยกเว้นภาษี
>> ดอกเบี้ยเงินฝากประจำแบบผูกพัน ยกเว้นภาษี สำหรับการฝากเท่ากันทุกเดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยไม่เกินเดือนละ 25,000 บาท และวงเงินรวมกันไม่เกิน 600,000 บาท
>> ดอกเบี้ยเงินฝากประจำสำหรับผู้สูงอายุ ยกเว้นภาษี สำหรับผู้ฝากเงินอายุ 55 ปี ขึ้นไปที่มีดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ตราสารทุน (หุ้น,หุ้นสามัญ,หุ้นบุริมทรัพย์)
- เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และมีสิทธิเลือกไม่รวมคำนวณปลายปี กรณีเลือกตำนวณปลายปี ได้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล
- กำไรจากการขาย ขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการยกเว้นภาษี หากขายนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ หักภาษีในอัตราก้าวหน้าและรวมคำนวณปลายปี
ตราสารหนี้ (พันธบัตร,หุ้นกู้,ตั๋วเงิน,บัตรเงินฝาก)
- ดอกเบี้ย หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามระยะเวลาที่ถือครองและมีสิทธิเลือกไม่คำนวณปลายปี
- ส่วนลด หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะคนแรก และมีสิทธิเลือกไม่รวมคำนวณปลายปี
- กำไรจากการขาย กรณีตราสารที่มีดอกเบี้ย หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามระยะเวลาที่ถือครอง ส่วนกรณีตราสารที่ไม่มีดอกเบี้ย ยกเว้นภาษีเฉพาะกรณีที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากคนแรกแล้ว
ตราสารอนุพันธ์
- ดอกเบี้ย หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามระยะเวลาที่ถือครองและมีสิทธิเลือกไม่คำนวณปลายปี
- ส่วนลด หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะคนแรกและมีสิทธิเลือกไม่รวมคำนวณปลายปี
- กำไรจากการขาย หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามระยะเวลาที่ถือครอง
- เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และมีสิทธิเลือกไม่รวมคำนวณปลายปี
- ค่าธรรมเนียม หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% สำหรับผู้ออกตราสารอนุพันธ์
การลงทุนในกองทุนรวม
- เงินลงทุน ไม่สามารถหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษี
- ผลตอบแทน เงินปันผล ถูกหักภาษี 10% และมีสิทธิเลือกไม่รฃวมคำนวณปลายปี
ผลประโยชน์จากการขายหน่วยลงทุน ได้รับการยกเว้นภาษี
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- เงินลงทุน หักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่ลงทุนจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนครู ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- ผลตอบแทน ได้รับการยกเว้น ถ้า เหตุสูงอายุ (ลงทุน 5 ปี + อายุ 55 ปี),ทุพพลภาพหรือตาย,ถือหน่วยลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
- เงินลงทุน หักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่ลงทุนจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และ ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- ผลตอบแทน ได้รับการยกเว้น ถ้า ถือหน่วยลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน (เศษของปีนับเป็น 1 ปี),ทุพพลภาพหรือตาย
ประกันชีวิต
- เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสำหรับการประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์มีอายุ 10 ปี ขึ้นไป หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่กรมธรรม์มีอายุ 10 ปีขึ้นไป และมีการกำหนดช่วงอายุการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้อายุ 55 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนับรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนครู และเงินที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทน ได้รับการยกเว้นภาษี
ภาษี…..กับความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและมั่นคง 2
ภาษี…..กับความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและมั่นคง 3
ภาษี…..กับความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและมั่นคง 4