Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543

Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543

Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543
+++ 4 ขั้นตอนของการเป็นหนี้ยังไงให้ไม่เดือดร้อน ? | การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย
แนวคิด

+++ 4 ขั้นตอนของการเป็นหนี้ยังไงให้ไม่เดือดร้อน ?

การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ แต่ในโลกยุคปัจจุบันการมีหนี้สินถือเป็นเรื่องธรรมดาสามัญมาก ๆ เนื่องจากหากเราอยากเป็นเจ้าของสินทรัพย์อะไรก็ตาม

   ถ้าเราซื้อเงินสดไม่ได้ เราสามารถซื้อได้ด้วยเงินผ่อน หรือเงินอนาคต ซึ่งถ้าเราบริหารจัดการดี ๆ มันจะเป็นประโยชน์ แทนที่จะเป็นโทษ

   สำหรับคนที่เดินหลงเข้าไปในวังวนของหนี้สินที่ไม่ดี หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถยนต์ เราต้องบริหารจัดการเงินให้เป็น เพื่อให้ออกจากวังวน และมีฐานการเงินเป็นบวก จะทำอย่างไร ไปติดตามกัน

  • 1. พยายามปิดหนี้สินที่มีดอกเบี้ยเยอะที่สุด

   หากเรามาเปรียบเทียบระหว่าง หนี้สินบัตรกดเงินสด หนี้สินจากบัตรเครดิต หนี้สินรถยนต์ และหนี้สินจากการผ่อนบ้าน ก็ต้องบอกว่า หนี้สินจากบัตรกดเงินสด หนี้สินจากบัตรเครดิตดูอันตรายกว่า หนี้บ้าน และหนี้รถยนต์

   เนื่องจากดอกเบี้ยที่สูงกว่า และเป็นหนี้ที่มีโอกาสพอกพูนสูงมาก หากเราเป็นหนี้บ้าน หนี้ผ่อนรถยนต์ จำนวนเงินต้นก็จะยังคงเดิม เพียงเรามีวินัยผ่อนค่างวดตรงทุกงวดก็จะไม่มีปัญหาอะไรมากวนใจ

   สำหรับหนี้บัตรกดเงินสด และหนี้บัตรเครดิตในปัจจุบันมีดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายค่อนข้างสูง ถ้าเราจ่ายแต่ดอกเบี้ย และก่อหนี้ใหม่ มันจะทบไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายเราจะจ่ายไม่ไหว และจุดจบก็คือ “ขาดสภาพคล่องทางการเงิน”

คำแนะนำ : ควรหาทางปิดหนี้สินเหล่านี้เสียโดยเร็ว ใครที่มีหนี้สินบัตรเครดิต ยังไม่กู้ซื้อบ้าน ก็อย่าเพิ่งไปกู้ซื้อนะ ควรปิดหนี้เหล่านี้เสียก่อนจะดีกว่ามาก เผื่อวันที่วางแผนจะซื้อบ้านแล้วจะได้ไม่มีปัญหาตามมา

  • 2. เมื่อปิดหนี้ดอกเบี้ยสูงได้แล้ว ค่อยโปะหนี้ส่วนอื่นๆ

   สำหรับหนี้สินรถยนต์ ถ้าเราผ่อนค่างวดทุกเดือนก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ใครที่อยากหมดหนี้เร็ว ๆ ก็สามารถปิดด้วยการโปะเงินต้นได้ แต่ด้วยดอกเบี้ยที่ไม่สูงมาก และวงเงินกู้ไม่ได้มาก การโปะหนี้รถยนต์ถือว่ามีความจำเป็นน้อยในทางปฏิบัติ

   แต่ในส่วนของหนี้ผ่อนบ้าน จะผิดกับหนี้สินของการผ่อนรถยนต์ ด้วยจำนวนเงินก้อนที่ใหญ่กว่า (ซื้อบ้านใช้เงินมากกว่าซื้อรถยนต์) ทำให้การนำเงินสดไปโปะหนี้บ้านเราจะได้ประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากเงินต้นที่ลดลง จะทำให้จำนวนปีในการผ่อนบ้านลดลงไปด้วย เพราะดอกเบี้ยผ่อนบ้านจะคิดแบบลดต้นลดดอกนั่นเอง

  • 3. เมื่อลดหนี้ลงได้แล้ว พยายามหาช่องในการเก็บเงิน

   เมื่อเราลดหนี้สินลงไปได้มากพอตัวแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อมาก็คือ ไม่ควรเพิ่มค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น และพยายามหาช่องทางเก็บเงิน เราจะได้มีเงินเก็บกับเขาบ้าง

   หากเราลองมาทำตัวเลขรายเดือน จำนวนเงินที่เราต้องจ่ายหนี้สำหรับบัตรกดเงินสด หนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ เราอาจจะตกใจว่าเราไม่มีเงินเหลือเก็บอะไรเลย แต่หากเราลดภาระเหล่านี้ลงได้ เราจะเริ่มมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ จะเริ่มเก็บเงินกับเขาได้บ้างละ

  • 4. พยายามทำทีละขั้นตอน อย่างต่อเนื่อง และมีวินัย

   ถ้าจะให้สรุปแนวทางการบริหารจัดการหนี้ชีวิตก็คือ เราต้องเริ่มต้นด้วยการนำกองหนี้มาพิจารณาดูว่าหนี้สินตัวไหนดอกเบี้ยสูงสุด และพุ่งเป้าไปที่จัดการหนี้เหล่านั้นให้หมดไปเป็นอันดับแรก ต่อมาก็คือ เราต้องหันมาจัดการหนี้ที่มีดอกเบี้ยลดหลั่นลงมา และเมื่อจัดการได้หมดจดครบถ้วน เราก็ต้องเริ่มเก็บเงิน

   ถ้าเรายังมีปัญหาหนี้สินย้อนกลับมาอีก ให้กลับไปอ่านขั้นตอนแรกใหม่ และเริ่มทำมาเรื่อย ๆ จนถึงขั้นที่เรามีเงินเก็บ รักษาวินัยทางการเงินเอาไว้ ไม่แน่ในอนาคตเราอาจได้ทำธุรกิจ และต้องกู้หนี้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาทำกิจการ ซึ่งเป็นหนี้ดี เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ เราก็สามารถทำได้อย่างลุล่วง เพราะเราไม่มี “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” คอยฉุดขาเราไว้อีกต่อไปนั่นเอง

#Bigmoney

บทความต้นฉบับ

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย