ขั้นตอนต่างๆของเจ้าหนี้ เมื่อคุณจะเริ่มหยุดจ่ายหนี้ และการแก้ไข
ก่อนที่เราจะปลดหนี้ได้ดี เราจะต้องเข้าใจขั้นตอนต่างๆของเจ้าหนี้ กันเสียก่อนครับ ว่าเขาจะทำอะไรอย่างไร มีขั้นตอนการทวงหนี้กับเรายังไงบ้าง ถ้าเรารู้ขั้นตอนต่างๆ เราจะไม่กลัวเจ้าหนี้มากจนเกินไป
ทำให้รู้ว่าเราอยู่ในขั้นตอนไหน ต่อไปเจ้าหนี้จะทำอะไรเราได้บ้าง เราจะแก้ปัญหาในแต่ล่ะช่วงได้อย่างไร มาดูกันครับ
1. ก่อนเริ่มหยุดจ่าย
ให้เราสำรวจเราก่อนว่า เราได้เปรียบหรือเสียเปรียบเจ้าหนี้ครับ จากนั้น ให้เราจดยอดเงินต้นของหนี้ทั้งหมด กี่ใบ ใบล่ะกี่บาท ไม่ต้องสนใจดอกเบี้ยนะครับ ให้จดไว้เลย หยุดจ่ายเมื่อไหร่ ให้ไปเช็คบูโรเอามาเก็บไว้นะครับ และเก็บเอกสารการทวงหนี้ต่างๆเอาไว้ อย่าทิ้งเด็ดขาด เพราะจะได้เอาไว้ดูเป็นข้อมูลครับ หาลังมาใส่รวมๆกันไว้ก็ได้ครับ
2. หยุดจ่าย 1-3เดือน (ให้หยุดจ่าย สะสมเงิน รอขอส่วนลด สะสมเงินรวมกันเยอะๆยิ่งดี)
เจ้าหนี้จะเริ่มทวงตั้งแต่เราหยุดจ่ายเดือนแรก จะทวงบ่อยมากในระยะ 3เดือนแรกนี้ และถ้าเราไม่จ่าย เจ้าหนี้จะพยายามพูดให้เราจ่ายขั้นต่ำ หรือให้เราประนอมหนี้ /เรียกว่าปรับโครงสร้างหนี้ อย่าไปหลงกลเจ้าหนี้นะครับ ไม่มีอย่าจ่ายอย่าปรับอย่าเซ็นต์ใดๆทั้งสิ้น
บางครั้งอาจจะโทรมาจนรำคาญ ให้เรารับบ้างไม่รับบ้าง เวลารับสายให้บอกว่าตอนนี้กำลังแย่ ขอเวลาตั้งตัวสักพักก่อน แล้วให้วางสายไปครับ พูดแบบนี้ซ้ำๆไป
จากนั้นเจ้าหนี้อาจจะมีการโทรเข้าที่ทำงาน ให้เราใจเย็นๆก่อนนะครับ ให้เราแกล้งรับสาย หรือให้หัวหน้าเราจริงๆก็ได้รับสายแล้วบอกเจ้าหนีั้ไปว่า ที่ทำงานไม่มีนโยบายให้ทวงหนี้ อยากให้ที่ทำงานทำอะไรเอาหมายศาลมาถ้ายังโทรมาทวงอีกจะแจ้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
ให้สอบถาม ชื่อ นามสกุล สำนักกฎหมายที่ทวง หรือเจ้าหนี้ที่ให้ทวง ไม่เกินสองสามครั้งมันจะเลิกโทรเข้าที่ทำงานครับ เจ้าหนี้กะอาจจะมาหาในที่ทำงาน เป็นกลลุทย์เด็ดครับ เพราะเขาต้องการให้เราอายคนที่ทำงาน ว่ามีคนทวงหนี้มาหา เราจะรีบหาเงินมาจ่ายเขาโดยไว เขาคิดแบบนี้
แต่อย่าไปกลัวมาหาเราจะพบไม่พบกะได้สิทธิ์ของเราครับ เขามาหาก็แค่ทำหน้าที่เขา เราไม่มีเงินเราก็ไม่ต้องจ่าย ไม่มีใครมาดึงเงินจากกระเป๋าเราได้ บอกเขาไปถ้าเราเจอเขา บอกว่าไม่มีขอเวลาตั้งตัว ได้แล้วจะติดต่อขอส่วนลดไป หรือขอส่วนลดเขาเลยตอนนั้น
ถ้าเขาไม่ให้กะบอกว่า ถ้าลดได้ติดต่อมาที่เบอร์เราได้ตลอดเวลา แล้วเราเดินหนีได้เลยครับ อย่าไปกลัว ตั้งสติ ที่ทำงานเขากะมีหนี้กันทุกคนแหละครับ อย่าไปอาย เมื่อเราเลิกอาย เจ้าหนี้กะหมดทางได้เปรียบเรา
3. หยุดจ่าย 4 เดือนขึ้นไป (ถึงเวลาขอส่วนลดแล้ว บอกไปลดได้ติดต่อมาใหม่นะ)
ตอนนี้เราติดบูโร หรือแบล็คลิสต์แล้ว เพราะค้างจ่ายเกิน 90วัน ไปแล้ว อย่าไปกังวลกับการติดบูโรครับ เพราะตอนนี้ต่อให้ประวัติยังดี แล้วจ่ายแค่ขั้นต่ำ กะทำอะไรยากแล้วครับ อย่าไปสนใจประวัติจะเสีย เสียได้ก็ดีขึ้นมาได้ เมื่อเราปิดบัตรได้หมดทุกใบไปแล้ว เราต้องปลดหนี้ก่อนมีทรัพย์นะครับ
เมื่อเราอยู่ในช่วงนี้ เจ้าหนี้จะไม่ค่อยทวงแล้ว จนบางคนคิดถึงคนทวงหนี้ว่าเงียบจัง จนกลัวเขาจะฟ้อง ถ้าหนี้ไม่เกินแสนเขาไม่ฟ้องไวหรอกครับ ตอนนี้หนี้เราได้เป็นหนี้เสียเรียบร้อยแล้ว
เจ้าหนี้จะจะบอกว่าจะโอนเรื่องไปตามระบบให้ สำนักทวงหนี้ข้างนอกทวง อย่าไปกลัวนะครับ ข้างนอกแหละลดได้เยอะมากกว่า ที่ธนาคารทวงเองเสียอีก ให้เราขอส่วนลดครับไม่ได้หวังว่าเขาจะลดให้หรือไม่ แต่ทำให้เรามีเรื่องคุยกับเขาไม่กลัวคนทวงมากเกินไป และเป็นการเสนอทางให้เขารับรู้ว่าเราอยากจ่าย บอกเขาไปตามนี้ครับ
ให้ขอจนกว่าจะลดได้ ไม่ลดอย่าพึ่งจ่าย ตั้งเป้าขอส่วนลดที่ครึ่งนึง ของยอดเงินต้น ถ้าเศษพันสองพันกะขอลดลงให้มันลงตัวครับ ถ้าเจ้าหนี้ลดให้ แล้วเราเงินเก็บยังไม่พอ ก็ขอแบ่งจ่ายไปครับ 2-10เดือนก็ว่ากันไป แล้วแต่ยอดหนี้
ไม่มากไปจนเราจ่ายไม่ไหว ไม่น้อยไปจนเจ้าหนี้ไม่ยอม ให้เราลองคิดเอง เช่น ลดเหลือสามหมื่น ก็ขอจ่ายเดือนล่ะห้าพันหกเดือนอะไรแบบนี้ อย่ากลัวเจ้าหนี้พูดว่าจะฟ้องศาลนะครับ ถ้าเขาฟ้องศาลจะมีหมายศาลมาเอง ไม่มีก็คือยังไม่ฟ้อง ไม่ฟ้องก็อย่าไปกลัวมากครับ ขอลดอย่างเดียว ช่วงนี้คือนาทีทองในการขอลดเพื่อปิดบัญชี
4. เมื่อมีหมายศาลฟ้อง (ให้เช็คบูโร เพื่อดูวันที่ชำระ ว่าหมดอายุความฟ้องแล้วหรือไม่)
ถ้าเจ้าหนี้บอกว่ามีหมายศาล ถ้าเรายังไม่ได้รับ ให้ถามหมายเลขคดีดำ ไปว่าเลข อะไร เลขคดีดำคือเลข ที่ศาลรับฟ้อง ส่วนเลขคดีแดง คือเลขที่ สาลตัดสินแล้ว เมื่อได้รับหมายศษล ก่อนอื่นเลยรีบไปเช็คบูโรครับ เพื่อดูวันที่ชำระล่าสุดวันไหน ในบูโร เราจะดูเรื่องอายุความครับ
ว่าฟ้องก่อนหมดอายุความหรือหลังหมดอายุความฟ้องแล้ว ถ้าฟ้องหลังจากหมดอายุความเรา ไปสู้คดี เรื่องอายุความได้เลย เราจะชนะครับ ไม่ต้องจ่ายสักบาท เพราะเจ้าหนี้ลักไก่ ชอบฟ้อง หลังหมดอายุความ เพราะคงคิดว่าเราคงจะไม่รู้ว่าสู้คดีคืออะไร ส่วนมากมักไปเจรจามากกว่าสู้คดี
ถ้ายังไม่หมดอายุความ ให้เรารีบติดต่อเจ้าหนี้ มีบอกในหมายศาลครับ ดูด้านท้ายๆของเล่มน่าจะมีบอกมา ให้เจรจาขอส่วนลดเหมือนตอนแรกครับ ถ้าเรารู้ว่าเราได้เปรียบกะบอกเขาไปว่าถึงฟ้องกะไม่ได้อะไร เพราะเราตกงาน รับราชการ หรือไม่มีทรัพย์ ไม่มีให้ยึดให้อายัด หรือถ้าเราเสีัยเปรียบกะไม่ต้องบอกเจ้าหนี้ หรือบอกก็ได้ เจ้าหนี้ยังไม่รู้ว่าเราได้เปรียบหรือเสียเปรียบ
ยกเว้นว่ามีทรัพย์ไปค้ำประกันนั่นคืออีกเรื่องหนึ่ง ขอลดแล้วขอแบ่งจ่ายครับ ถ้ามีเงินขอไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงวันฟ้อง มีเวลาในช่วงนี้ขอจนกว่าจะได้ ขอแบบเดียวกันว่าอยากปิด ช่วยลดให้หน่อย อยากจ่าย เมื่อเขาลดกะขอแบ่งจ่ายไปครับ
พูดคล้ายข้อข้างบนไปครับ ขอได้ทุกวันขอจนมันรำคาญไปเลยครับ ทีโทรทวงเรายังทวงได้ทุกวัน ถ้ายังไม่ลดจนถึงวันขึ้นศาล ให้เราเตรียมไปเจรจาที่ศาล สำหรับคนที่เสียเปรียบต้องไปเจรจานะครับ
5. วันขึ้นศาล คดีความแพ่ง (ไม่ติดคุกครับ ไปศาลคือการไปเจรจาขอส่วนลดตกลงกัน)
ขั้นตอนขึ้นศาลไม่ได้น่ากลัวอะไรครับ ถ้าเราได้เปรียบอย่าเซ็นต์รับข้อเสนอใดๆถ้าไม่ลด เพราะต่อให้ศาลตัดสิน มันก็ยึด หรืออายัดไม่ได้ครับ ตราบใดที่เรายังได้เปรียบ 10ปีเดี๋ยวก็หมดหนี้เอง
นับจากวันศาลตัดสิน หรือคนที่เสียเปรียบให้เจรจาขอส่วนลดก่อน แล้วแบ่งจ่าย ถ้าลดไม่ได้เจ้าหนี้จะยื่นข้อเสนอมาให้เรา อยู่ที่เราว่าจะรับได้หรือไม่ อย่าจ่ายเยอะกว่า 15%ของเงินเดือนนะครับ ถ้าเราไม่ไหวกะบอกเขาไปว่า จ่ายไหวที่เท่าไหร่ ถ้าไม่ยอมอีก ให้รอศาลนั่งบัลลังค์ อย่าพึ่งกลับบ้านก่อน
ให้เตรียมเอกสารภาระหนี้ไปด้วยก็ยิ่งดีครับ แล้วบอกศาลไปว่าเจ้าหนี้เขาเสนอมาเท่าไหร่ เราขอจ่ายได้เท่าไหร่ กะลองขอจ่ายที่เดือนล่ะสองพันไม่มากไม่น้อยกว่านี้ เดี๋ยวเราจะจ่ายไม่ไหว อย่ารับปากมั่วๆ ถ้า 5พันเราจ่ายไหวก็ตกลงได้ครับ เซ็นต์รับรับข้อตกลงไป
สำหรับคนที่มีทรัพย์ ควรเจรจาขอตกลงที่ศาลให้ได้นะครับ เพราะถ้าศาลตัดสินแล้ว เขาสืบยึดทรัพย์ได้ แต่ถ้าไม่มีทรัพย์ มีแต่เงินเดือนที่เขาอายัดได้ ไม่ไหวก็อย่าจ่ายครับถ้าเกิน15% ของรายได้ ให้รอเขาสืบเพื่ออายัดเงินเดือนเราดีกว่าครับ
อ้อการยึดหรือการอายัดเงินเดือน ไม่ใช่ศาลตัดสินแล้วยึดได้เลยในวันนั้นนะครับ เจ้าหนี้ต้องไปสืบเองเพื่อหาทรัพย์หาที่ทำงาน ว่าเราทำงานที่ไหน เขามีเวลาสืบ 1 ปี ถ้าไม่เจอในช่วงนี้ก็เสร็จเราครับ หมดอายุความบังคับคดี คือทวงหลังจากนี้เราบอกไปเลยว่าไม่จ่าย
ถ้าเขายึดหลังจาก10ปี ให้ชี้แจงกรมบังคับคดีได้เลยครับ ในการขึ้นศาลกะให้ยึดหลักการเจรจาไว้เหมือน 2ข้อที่ผ่านมานะครับนะครับ เมื่อเจ้าหนี้สืบเจอจึงจะส่งเรื่องไปสำนักบังคับคดีให้ยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือนแล้วแต่ว่าเรามีอะไรให้เขายึดรึอายัด
ถ้าตกลงขอจ่ายขั้นต่ำได้ ให้เราจ่ายไปก่อนสักสามสี่เดือน เราก็ค่อยสะสมเงินขอส่วนลดได้อีกครับ ขอจนกว่าเขาจะลดให้ครับ เหมาะสำหรับคนมีทรัพย์ดีกว่าต้องจ่ายจนหมดครับ
6. วันที่ศาลตัดสินคดี
หลังจากวันขึ้นศาลถ้าตกลงกันไม่ได้ ศาลจะตัดสินคดีใน 15-45วัน ช่วงนี้เรายังติดต่อเจ้าหนี้เจรจาขอส่วนลดได้อยู่เหมือนเดิมนะครับ การขอส่วนลดขอได้ทุกวันเลยครับทุกช่วง จนกว่าเขาจะลดให้ ถ้าเราจ่ายได้ตามตกลงเขากะไม่สืบทรัพย์ไม่สืบเงินเดือนครับ
7. วันที่มีใบยึดทรัพย์ หรือใบอายัดเงินเดือน
ถ้ามีใบนี้มาแสดงว่าเจ้าหนี้สืบเจอทรัพย์หรือเจอที่เราทำงานแล้ว และเจ้าหนี้ได้ส่งเรื่องไปยังกรมบังคับคดีให้ทำเรื่องยึดหรืออายัดเรา ในหมายยึดหรืออายัด จะมีบอกว่าสำนักงานบังคับคดีที่ไหนที่ดูแลเรื่องเรา ให้เราไปติดต่อที่นั่น
กรณีทรัพย์คงทำไรมากไม่ได้ มีทางเดียวคือเจรจาเจ้าหนี้ขอส่วนลดแบ่งจ่ายไป แต่อาจจะลดยากหน่อยเพราะเขาเจอทรัพย์เราแล้ว เขาถือว่าเขาได้เปรียบ แต่ถ้าเขายอมตกลงกะหาเงินมาจ่ายได้ครับ ขอแบ่งจ่ายกะได้ครับ อย่ากลัวมากไปแม้จะมีหมายยึดแล้วก็ตาม
เพราะกว่าจะขายทอดตลาดได้อีกนานครับไม่ใช่ขายกันได้ง่ายๆสำหรับทรัพย์ ให้เราถามกรมบังคับคดีว่าจะมีการประมูลกันวันไหน เราสามารถไปคัดค้านการขายได้ ถ้ายอดประมูลต่ำมากไปครับ แต่ถ้าเราไม่ไหวจริงๆก็ควรปล่อยทรัพย์นั้นให้ยึดไปครับ ไม่ตายคงหาใหม่ได้ ถ้าเราหมดทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้เจ้าอื่นเราก็ได้เปรียบขึ้นมาทันทีครับ เพราะไม่ต้องกังวลกับทรัพย์แล้ว
กรณีถูกอายัดเงินเดือน ให้รีบไปสำนักบังคับคดี ที่มีบอกในใบอายัดนะครับ แล้วไปขอยื่นลดยดอกอายัดลง จากยอดที่เกินสองหมื่นหักหมด ลดลงมาเหลือ 50% ครับ เช่นฐานเงินเดือน 40,000 บาท อายัดที่ 10,000 บาท ไปขอลดลงเหลือ 5,000ได้ ถ้ายังเยอะไปยื่นคำร้องต่อศาลได้ครับ
เอาเอกสารภาระหนี้ต่างๆไปด้วย
#ค่าบ้าน #ค่าน้ำค่าไฟ #ส่งลูก #ส่งพ่อแม่ #ตายาย #ค่าเดินทาง #ค่ากิน #ค่าห้อง #ค่ารักษาพยายาลของคนในครอบครัวเรารึตัวเราครับ #ใบรับรองแพทย์ อะไรแบบนี้ ส่วนค่ามือถือ กับค่างวดรถถือว่าฟุ่มเฟือยไม่ต้องเอาไป
ถ้าไม่มีเอกสารอะไรก็ไปเขียนเอาก็ได้ครับ อ้อใบทวงหนี้เจ้าอื่นเเอาไปยื่นเพิ่มด้วยได้ครับ ยื่นวันนั้นแล้วรอรับเลยครับ อ้อไปแต่เช้า หรืออย่าเกินบ่ายสามล่ะกัน ถ้าคนเยอะเด๊่ยวต้องไปรับใบวันหลังอีกจะเสียเที่ยว แจ้งแล้วรอรับใบลดเลยครับ จะลดเท่าไหร่ก็แล้วแต่สำนักบังคับคดีนั้น ส่วนมากก็ลดเลยที่ 50% ไม่น้อยกว่านี้แล้วครับ
จากนั้นให้เอามายื่นกับฝ่ายบุคคลหรือ ฝ่ายการเงินของบริษัท ที่เรียกเราไปพบ ว่าเราไปทำเรื่องขอลดมาแล้ว อ้อการอายัดเงินเดือน เราจะจ่ายเอง หรือบริษัทหักก็ได้ครับ ให้ดีควรขอจ่ายเองครับ ในใบอายัดจะมีบอกว่าเราสามารถจ่ายเองได้ แต่ต้องจ่ายนะครับ ถ้าไม่จ่ายเดี๋ยวกรมบังคับคดีจะส่งหนังสือมาอีกในเดือนหน้าแล้วบริษัทเขาจะหักเองจะเสียโอกาสนะครับ
ถ้ามีฝ่ายบุคคลเข้าใจก็ถือว่าโชคดีไปครับ แต่เมื่อเจ้าหนี้อายัดแล้ว ให้เรารีบสะสมเงินแล้วรีบขอส่วนลดจากเจ้าหนี้ บอกเขาว่าอยากปิดบัญชี ถ้าเขาไม่ยอมลดบอกว่าถ้าเราลาออกจากงานเขาจะไม่ได้อะไรเลยเสียเวลาสืบ เสียเวลาอีก และอาจจะไม่เจอเพราะเราจะไปขายของตามตลาดนัดหรือไปทำสวนทำนาแทนก็จะไม่ได้อะไร
ช่วยหน่อยอยากจ่ายอยากปิด อ้อนๆเข้าไว้ครับ รับรองลดได้ เช่น ฟ้องยอด1แสน ถ้าขอลดอาจจะจ่ายได้ที่4หมื่น ถึง 1แสนบาทได้ ถ้ามัวรอจนอายัดครบ รวมๆแล้วอาจจะเกิน 2แสนบาทได้ครับ เพราะมีค่าดอกร้อยล่ะ15 ต่อปีตามมาด้วย
ในระหว่างอายัดหรือยึดทรัพย์ เราสามารถขอส่วนลดได้ตลอดเวลานะครับ อย่ากลัวครับ อ่านช้าๆ อ่านหลายๆรอบจะได้เข้าใจขั้นตอนครับ
8. ส่วนคนที่ได้เปรียบเจ้าหนี้ แล้วรอให้หมดอายุบังคับคดี
ควรจำไว้ว่า หลังจากศาลตัดสินแล้ว 10ปี เจ้าหนี้สามารถทวงได้ ส่วนจะทวงหรือไม่ก็แล้วแต่เจ้าหนี้ครับ เก็บเอกสารทั้งหมดดีๆ เอกสารวันตัดสินวันฟ้องเก็บไว้ยิ่งดีครับ จะได้รู้เผื่อเราลืม จะได้เอามาดูได้ว่าหมดอายุความบังคับคดีเมื่อไหร่ ในระหว่าง 10ปี
อย่ามีทรัพย์ อย่ามีรายได้เกินหมื่น ผ่านระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 หรืออย่ามีเงินเงินฝากชื่อคนที่มีหนี้ อยากฝากเงินกะฝากในชื่อพ่อแม่พี่น้อง สามี ภรรยา ที่ไว้ใจได้ อย่ามีทรัพย์ ในชื่อเรา แต่เราเป็นคนค้ำได้ครับ แต่อย่ามีชื่อเป็นคนกู้ร่วมนะครับ คนค้ำ กับ คนกู้ร่วมต่างกันนะครับ
ถ้าสิบปีจากวันศาลตัดสินเจ้าหนี้ ไม่สามารถยึดหรืออายัดได้ เราก็สบายหมดหนี้แล้วครับ ถ้ามีเจ้าหนี้ทวงมากะบอกไปว่าหมดอายุบังคับคดีแล้ว ถ้ามีหมายอายัดหรือยึดมาก็เช็ควันที่ศาลตัดสิน ถ้าเกินชี้แจงได้ กรมบังคับคดีก็จะไม่ยึดไม่อายัด ในสิบปีนี้เจ้าหนี้มีสิทธิ์สืบได้เรื่อยๆ แล้วแต่การทำงานของเขา เรากะทำหน้าที่ของเรา
ถ้าเราจนไม่มีรายได้มากกว่าหมื่น ไม่มีทรัพย์อย่าไปกลัวคนทวง บอกอยากได้ไปฟ้องเอา ใช้ชีวิตให้รอดไปครับ หาที่ดินเล็กๆทำเกษตรแบบพอเพียงอยู่รอดได้ครับ อย่าลืมขอลดขอได้ตลอดเวลาครับ แต่เจ้าหนี้จะลดไหมก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ เรามีหน้าที่ขอลดกะขอจนมันรำคาญไปเลย
ถ้าเราพอมีเงินในระยะเวลาสิบปี ขอลดแล้วเขาลดให้ก็จ่ายไปครับ ถ้าปิดบัญชีหมดแล้ว ก็สามารถกู้บ้าน ออกรถได้ ในเดือนสองเดือนแรกที่เราปิด หากมีใบปิดบัญชีแล้ว ส่วนทำบัตรเครดิต คิดว่าน่าจะเข็ดกันนะครับ หากไม่เข็ด รอสามปีจากที่เราปิดก็ทำได้ใหม่บางสถาบันการเงินแล้วครับ
9. หัวใจหลักเลยคือการเก็บเงินสะสมรอขอส่วนลดเพื่อปิดบัญชีครับ
ควรสะสมไว้ตั้งแต่เราหยุดจ่ายเดือนแรกเลยนะครับ อย่าจ่ายหยอด อย่าจ่ายขั้นต่ำ บางคนหยุดนานแล้วเจ้าหนี้เสนอมาให้จ่ายหยอดไป 1ร้อยบาท หรือ 1พันบาท แล้วไปจ่าย การจ่ายแบบนั้นจะยืดอายุความไปอีก
เริ่มนับหนึ่งใหม่จากวันที่เราจ่ายหยอดนะครับ ไม่ควรจ่าย หยุดแล้วหยุดเลยเอาเงินมาสะสมรวมกันดีกว่า อย่าไปสนใจดอกเบี้ยนะครับ ถ้าเงินต้นลดแล้ว ดอกเบี้ยทั้งหมดก็จะลดไปเองทั้งหมด อย่าเข้าใจผิดว่า ย้ำนะครับว่า ถ้าลดแต่เงินต้นแล้วดอกยังอยู่ ถ้าเงินต้นลด ดอกเบี้ยจะลดทั้งหมดไม่คิดสักบาทนะครับ
ถ้าเราสะสมเงินได้ในแต่ล่ะเดือนได้เยอะเราก็จะปิดได้ก่อนเจ้าหนี้จะฟ้องศาลครับ แต่ส่วนมากคนชอบอ้างว่าไม่มีเงินที่จะสะสม เพราะไม่พอใช้ แต่ลองคิดดูถ้าเขาอายัดเงินเดือนเรา เขาก็อายัดจากเงินเดือนของเรานั่นแหละ ส่วนพอหรือไม่พอใช้คือเรื่องของเรา ทำไมเราไม่ชิงอายัดเงินตัวเองเดือนล่ะ30% รอสะสมเอาไว้ เมื่อเขาลดกะลดได้
มีหลายคนที่เขาลดให้เยอะแต่ไม่มีเงินจะจ่ายปิดบัญชี หรือแม้แต่จะแบ่งจ่ายก็ไม่มี เพราะไม่ยอมสะสมเงิน มารอจนเขาอายัดเงินเดือน สะสมเองลดได้จ่ายครึ่งนึงของยอดเงินต้น แต่อายัดเงินเดือน จ่ายสองเท่าของยอดหนี้ที่เจ้าหนี้ฟ้อง
ลองคิดเองครับอันไหนคุ้มกว่ากันครับ ขอให้หมดหนี้กันไวๆ และทุกคนนะครับ อย่าจ่ายขั้นต่ำอีกไปเลยประวัติไม่ได้ดีอะไร แถมจ่ายแบบนั้นจนเกษียนก็ยังไม่หมดหนี้ ลองดูที่เราจ่ายขั้นต่ำไปว่าต้นกี่บาท ดอกเบี้ยกี่บาท แล้วคิดเล่นๆว่าเงินต้นแอบบเรากี่10ปีจะหมดหนี้แบบคนอื่นเขา
#เป็นหนี้ก็ต้องจ่ายหนี้ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว
ใส่ความเห็น