Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543

Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543

Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543
+++ จัดการหนี้ดี กำจัดหนี้เสีย อย่างชาญฉลาด

+++ จัดการหนี้ดี กำจัดหนี้เสีย อย่างชาญฉลาด

วิธีจัดการหนี้ดี กำจัดหนี้เสีย อย่างชาญฉลาด ซึ่งคำว่า “หนี้สิน” ไม่ได้หมายถึง สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป หนี้สินมีทั้งหนี้ดีและหนี้เสีย เรามาดูวิธีจัดการหนี้ดีรวมถึงรับมือหนี้เสียอย่างชาญฉลาดกันดีกว่า

สำหรับความหมายของ “หนี้ดี” แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่

  • หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ ถือเป็นหนี้ดี

ยกตัวอย่างเช่น หนี้ที่กู้มาเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นเงินทุน และแหล่งทุนของเราคือการขอสินเชื่อธนาคาร เมื่อเรานำเงินกู้มาประกอบกิจการ เกิดเป็นกำไร หมุนกลับไปจ่ายดอกเบี้ย แบบนี้ถือเป็นหนี้ดี

  • หนี้ที่จำเป็นต้องกู้เพื่อคุณภาพชีวิต

ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือกู้เพื่อซื้อบ้าน หากคุณยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง การกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นหนี้ที่ดีเช่นกัน

+++ ความหมายของหนี้ที่ไม่ดี

สำหรับความหมายของหนี้ที่ไม่ดี คือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นภาระที่คุณต้องจ่าย ยกตัวอย่างเช่น หนี้ผ่อนรถยนต์ หากคุณไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ หรือมีรถยนต์อยู่แล้วแต่ซื้อคันใหม่

สิ่งที่ตามมาคือ ค่างวด ที่คุณต้องจ่ายทุกเดือน และเป็นหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อะไร แถมยังพ่วงค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาอีกด้วย

แล้วขั้นตอนการจัดการหนี้ดี-กำจัดหนี้เสียอย่างชาญฉลาดที่ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง?

ขั้นที่ 1 หยุดก่อหนี้เพิ่ม

อันดับแรกคุณต้องแจกแจงหนี้ออกมาให้ได้ว่าอันไหนเป็นหนี้ที่ดี อันไหนเป็นหนี้เสีย และหยุดก่อหนี้เพิ่ม ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่ดี หรือหนี้ที่ไม่ดี

สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งก็คือ การสร้างหนี้ใหม่เอาไปจ่ายหนี้เก่า การทำแบบนี้จะยิ่งทำให้ “ปมหนี้” ผูกมัดแน่นขึ้น และยากจะแก้ไขภายหลัง

ขั้นที่ 2 สำรวจภาระหนี้สิน และความสามารถในการชำระหนี้คืน

เมื่อหยุดก่อหนี้เพิ่มแล้ว คุณก็ต้องมาสำรวจหนี้สินว่ามีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล หนี้ค่างวดรถยนต์ ค่างวดบ้าน ฯลฯ

โดยจดบันทึกมูลหนี้ทั้งหมด รวมทั้งดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละเดือนว่าสิ่งที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งหมดเท่าไร

ทำแบบนี้จะเห็นภาพชัดขึ้นว่า หนี้สินของคุณมีอะไรบ้าง จ่ายดอกเบี้ยไปเท่าไรบ้าง และนำข้อมูลมาบริหารจัดการหนี้ในมือให้หมดไปโดยไว

ขั้นที่ 3 จัดสรรค่าใช้จ่ายเสียใหม่ ออมเงินให้มากขึ้น

เมื่อคุณแยกหนี้ดี และไม่ดีออกจากกัน หยุดก่อหนี้ใหม่ๆ บริหารจัดการหนี้แล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การจัดสรรค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเสียใหม่

สำหรับคนที่ใช้จ่ายค่อนข้างจะมือเติบ ก็ต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง วิธีที่ทำให้เรามองเห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ก็คือ การจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย

ที่นี้เมื่อเห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นแล้ว ลดการใช้จ่ายในส่วนนั้นๆ ลง ส่วนที่เหลือก็คือ เงินออม หากคุณต้องการความมั่นคงในด้านการเงิน ควรมีเงินออมเก็บไว้อย่างน้อย 10-20% ของรายรับทั้งหมด

บางคนบอกหนี้ยังจ่ายไม่หมดจะให้ออมเงินได้อย่างไร ไม่เป็นไรเรารีบเคลียร์หนี้ให้หมดเร็วๆ จะได้เริ่มต้นออมเงินเร็วๆ ถ้าไม่เริ่มก็คงไม่มีความสำเร็จเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ขั้นที่ 4 หาทางเพิ่มรายได้

เราขอแนะนำว่าคุณควรมีทั้ง active income คือ ทำงานหาเงิน และมี passive income คือ ‪ให้เงินทำงาน ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตการเงินของเรานั่นเอง

การเพิ่มรายได้นอกเหนือจากรายได้หลัก หรืองานประจำ ควรเป็นรายได้ในทาง passive income ทำให้มีกระแสเงินสดหลายทางเข้าสู่ชีวิตการเงินของเรา ดังนั้นถึงจะมีหนี้เยอะ แต่มีรายได้เยอะด้วย ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระและไม่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตมากนัก

ขั้นตอนสุดท้าย ติดตามผลงานอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อคุณวางแผนจะลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และบริหารหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็ต้องหมั่นติดตามผลงานอย่างสม่ำเสมอ

เพราะหากไม่คอยติดตามความก้าวหน้าใดๆ บางครั้งคุณอาจจะหวนกลับไปก่อหนี้ไม่ดีขึ้นมาอีกก็เป็นไปได้ ทางที่ดีควรหมั่นตรวจสอบตัวเอง และพฤติกรรมการใช้จ่ายให้ดี

สร้างเครดิตดีๆ ในอนาคตหากคุณจะทำกิจการ ประกอบธุรกิจเล็กๆ และจำเป็นต้องขอสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งเป็นหนี้ที่ดี คุณจะได้ไม่ติดขัด มีหนี้น้อยโอกาสดีๆ ก็เปิด ที่สำคัญคุณจะใช้ชีวิตที่มั่นคงได้อย่างสบายใจ

การไม่มีหนี้ถือเป็นลาภอันประเสริฐ แต่หากเราต้องเป็นหนี้จริงๆ คุณสามารถจัดการหนี้ทั้งหนี้ดีและหนี้เสียให้อยู่หมัดได้เพียงแค่มีวินัยและสม่ำเสมอ เมื่อบริหารจัดการหนี้ได้ ชีวิตก็จะราบรื่นอย่างแน่นอน

บทความต้นฉบับ

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *