“ประกันชีวิตมี 3 ประเภท”
“ประกันชีวิต”>>นั้นมีประเภทที่ถูกแบ่งไว้ให้แตกต่างกันสามประเภทคือ การประกันชีวิตประเภทสามัญ การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม โดยประเภทการประกันชีวิตที่แตกต่างกันนี้มีขึ้นเพื่อครอบคลุมผลประโยชน์และลักษณะการประกันที่แตกต่างกันไปตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ประกันชีวิตประเภทสามัญ
“ประกันชีวิตประเภทสามัญ” คือ>> การประกันชีวิตแบบที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสูง โดยเริ่มตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปประกันชีวิตประเภทสามัญนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลาง >>โดยการพิจารณารับประกันชีวิตนั้นอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพก็ได้โดยรูปแบบการประกันของบริษัทการชำระเบี้ยประกันภัยประเภทนี้มีให้เลือกได้หลายแบบ อาทิ การชำระเป็นรายปี, การชำระเป็นราย 6 เดือน, การชำระเป็นราย 3 เดือน หรือการชำระรายเดือน เป็นต้น - ประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม
“ประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม” คือ>> การประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ โดยมีตั้งแต่ 10,000 – 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ ซึ่งการชำระเบี้ยประกันภัยประเภทนี้จะเป็นการชำระแบบรายเดือน
>>>โดยไม่มีการตรวจสุขภาพ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมดแทน
- ประกันชีวิตประเภทกลุ่ม
“ประกันชีวิตประเภทกลุ่ม” คือ>> การประกันชีวิตที่ในหนึ่งกรมธรรม์จะประกอบด้วยการรวมตัวกันของผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ส่วนมากจะเป็นในลักษณะของกลุ่มของพนักงานบริษัท
>>ซึ่งพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ การประกันชีวิตประเภทกลุ่มแบบนี้ส่งผลให้อัตราเบี้ยประกันชีวิตนั้นต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภทอุตสาหกรรมเสียอีก
ในบทความนี้ จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ประกันชีวิตประเภทสามัญ
รูปแบบประกันชีวิตแบบสามัญ
“ประกันชีวิตแบบสามัญ”>> เป็นการประกันชีวิตรายบุคคลโดยมีรูปแบบพื้นฐานการประกันอยู่ 4 แบบซึ่งมีความแตกต่างกันทางด้านผลการคุ้มครองและผลประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
“ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ”>>คือการประกันชีวิตที่เป็นการให้ความคุ้มครองตลอดชีพ โดยบริษัทจะจ่ายเงินให้ผู้รับผลประโยชน์ในกรณีที่ผู้ทำประกันภัยเสียชีวิตเท่านั้น การประกันภัยแบบนี้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อจัดหาเงินทุนจุนเจือผู้ที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเป็นเงินทุนเพื่อค่าใช้จ่ายครั้งสุดท้าย เช่น ค่าทำศพ เพื่อไม่กลายเป็นภาระของคนอื่น - ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
“ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์”>>คือการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่จนครบตามกำหนดสัญญาเท่านั้นหรืออาจจะเป็นการจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาที่กำหนด การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นการผสมผสานประโยชน์ของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์เข้าด้วยกัน - ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
“ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา”>>คือการคุ้มครองชีวิตในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในเวลาที่กำหนด การประกันชีวิตแบบนี้จะไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ทำให้เบี้ยประกันภัยต่ำกว่าแบบอื่นและเป็นแบบไม่มีเงินเหลือคืนให้ - ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำ >>ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำคือบริษัทจะจ่ายเงินได้ประจำหรือที่เรียกกันว่าเงินบำนาญโดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเนื่องจากความชรา ไปจนถึงวันที่กำหนดไว้ ตามแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ซึ่งระยะเวลาการจ่ายเงินได้นี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ
คุณประโยชน์ของการทำประกันชีวิต
>>ในประเทศที่มีความเจริญผู้คนมักให้ความสำคัญกับการทำประกันชีวิตกันมาก การทำประกันชีวิตนั้นมีประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ทำเอง ผู้รับผลประโยชน์และต่อประเทศชาติอีกด้วย คุณประโยชน์ของการทำประกันชีวิตคือ
- การทำประกันชีวิตเป็นการทำให้ได้รับความคุ้มครอง
>>การทำประกันชีวิตไม่ได้หมายถึงการปัดเป่าให้พ้นภัยแต่การประกันชีวิตจะเป็นตัวช่วยบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากภาระที่มีต่อครอบครัวในกรณีที่ผู้ทำประกันเสียชีวิตในเวลาที่ยังไม่สมควร โดยบริษัทจะจ่ายเงินก้อนหนึ่งให้ผู้รับประโยชน์ตามจำนวนที่ระบุไว้ เพื่อเป็นทุนการศึกษาเล่าเรียน ค่าเลี้ยงดู หรือ ค่าจัดงานศพ เป็นต้น - การทำประกันชีวิตเป็นการออมทรัพย์
>>การทำประกันชีวิตถือว่าเป็นการออมทรัพย์ในรูปแบบหนึ่งซึ่งช่วยให้มีเงินก้อนไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือกลายเป็นกองทุนไว้ใช้ในโอกาสต่างได้ อีกทั้งเป็นการสร้างนิสัยให้ประหยัดและอดออมเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวต่อไปได้ - การทำประกันชีวิตเป็นการการลดภาษีเงินได้
>>การประกันชีวิตสามารถที่จะนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ 50,000 บาท ของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ไม่น้อยกว่า 10 ปี ของผู้มีเงินได้และคู่สมรส สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
- การทำประกันชีวิตเป็นการลดภาระของสังคมและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ
>>การทำประกันชีวิตเป็นการลดภาระของสังคมเนื่องจากเมื่อเกิดความสูญเสียหัวหน้าครอบครัวไป ประกันชีวิตที่ผู้ตายได้ทำไว้จะเป็นเงินช่วยเหลือมาบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเพราความไม่คาดฝันนี้ได้อีกทั้งทางด้านการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศนั้นยังถือเป็นการช่วยให้เงินออมของประชาชนในรูปของเบี้ยประกันภัยนั้นหมุนเวียนไปเป็นเงินลงทุนภายในประเทศช่วยทำให้ประเทศมีแหล่งเงินทุนอันส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจมีความเสถียรภาพมากขึ้น
ใส่ความเห็น