ทุนประกันชีวิต
เคยมีประสบการณ์แบบนี้บ้างไหม?
> ตัวแทนประกันมาขอให้ช่วยซื้อประกัน
ด้วยทุนประกัน 100,000 บาท?
> ตัวแทนประกันจัดแพ็คเก็จมาขาย
โดยไม่รู้ว่าทำไมต้องทำทุนประกันเท่านั้น?
> ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว
เราควรมีทุนประกันเท่าไรกันแน่?
“ทุนประกันชีวิต”
ไม่ว่ามากหรือน้อย ล้วนมีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น เพราะหากเกิดอะไรขึ้นกับเราจริงๆครอบครัวและคนที่เรารักจะได้ไม่ลำบากมากนัก หากมีน้อยเกินไปก็อาจทิ้งภาระไว้มากหน่อยหากมีมากเกินไปก็อาจเป็นการจ่ายเบี้ยประกันมากเกินควร
แล้วควรมี “ทุนประกัน” เท่าไรล่ะ?
จึงจะจัดได้ว่าเหมาะสมกับเรา
ก่อนอื่น
เรามาทำความเข้าใจกันก่อน
“ทุนประกันชีวิต”
เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ช่วยบริหารการเงินหลังความตาย ซึ่งไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้และก็ไม่มีใครรู้ว่าเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไร แต่การจากไปของเราต้องไม่ทิ้งความยาลำบากไว้กับคนรอบข้างโดยเฉพาะคนที่เรารักที่สุด
“ทุนประกันชีวิต”
เป็นการเตรียมเงินไว้สำหรับ “ค่าใช้จ่าย” ของเราที่ยังคงเกิดขึ้นต่อไปอย่างแน่นอน ไม่ว่าเราจะยังมีชีวิตอยู่หรือได้จากโลกนี้ไปแล้วก็ตาม
“ทุนประกันชีวิต”
เป็นสิ่งที่แสดงความรักและความรับผิดชอบของเราที่มีต่อคนที่เรารัก พวกเขาสามารถมีคุณภาพชีวิตอย่างไม่ลำบากไม่ว่าเราจะยังมีลมหายใจอยู่หรือไม่
คราวนี้ เรามาดูกันว่าอะไรบ้าง? ที่เป็นปัจจัยการพิจารณาทำ “ทุนประกันชีวิต”
- ค่าใช้จ่ายของครอบครัวเราต้องสำรวจและรวบรวมตัวเลขค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นทุกๆ เดือนในครอบครัวว่าเป็นจำนวนเท่าไร? ไม่ว่าเราจะอยู่หรือไม่ตัวเลขจำนวนนี้ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นปัญหาหากวันนี้เรายังมีลมหายใจและสามารถสร้างรายได้ตามปกติแต่มันจะเกิดวิกฤติที่แสนสาหัสกับครอบครัวหากเราจากไปโดยไม่ได้เตรียมแผนไว้รองรับ
- พวกเขาจะสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้อยู่หรือไม่? อย่างน้อยเราควรที่จะเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายก้อนนี้ไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 3-5 ปีเพื่อให้พวกเขาได้มีเวลาตั้งหลักและตั้งตัวได้บ้าง
- ภาระหนี้สิน หนี้สินต่างๆ ที่ยังต้องชำระอยู่ในปัจจุบัน เช่น บัตรเครดิต ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน สินเชื่อบุคคล เงินกู้ยืมต่าง ฯลฯ ที่ไม่ได้มีการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อไว้จะตกเป็นภาระของครอบครัวทันทีในวินาทีที่เราหมดลมหายใจ สินทรัพย์ที่เคยมอบความสะดวกสบายให้กับคนที่เรารักอาจตกไปเป็นของสถาบันการเงินหากไม่สามารถผ่อนชำระต่อได้
- แน่นอนว่าความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนที่ยังมีชีวิตอยู่จะเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงในเวลานั้นเราไม่สามารถรับรู้ได้แล้ว ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับครอบครัวของเราและพวกเขาจะต้องเผชิญกับภาระอะไรบ้าง แต่วันนี้ เราคงมองออกว่าพวกเขาจะต้องรับชะตาชีวิตแบบไหน การเตรียม “ทุนประกันชีวิต”จะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย
- ค่าเทอมลูก เคยลองคำนวณรวบรวมตัวเลขกันดูหรือไม่?เราต้องเตรียมเงินไว้เท่าไร? เพื่อจ่ายค่าเทอมลูก ตั้งแต่เตรียมอนุบาลจนจบปริญญาแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเรจะให้ลูกเรียนในสถานศึกษาประเภทใดถ้าเป็นสถาบันของรัฐบาลก็อาจใช้เงินน้อยกว่า แต่ถ้าเป็นเอกชนหรือนานาชาติก็อาจต้องใช้เงินเป็นกระบุง!!!แต่เฉลี่ยแล้วอย่างน้อยก็น่าจะเป็นตัวเลข 7 หลักขึ้นไปที่สำคัญ ในอนาคตค่าใช้จ่ายในการศึกษาก็จะแพงขึ้นไปเรื่อยๆ
- หากคุณแม่คุณพ่อยังอยู่การศึกษาและอนาคตของลูกจะเป็นไปตามที่หวังได้ไม่ยากนัก แต่หากเกิดจุดพลิกผันเวลาชีวิตของเราหมดลง ก่อนที่ลูกเราจะเรียนจบ การเตรียมทุนประกันชีวิตให้ครอบคลุมส่วนนี้ไว้ด้วยจะเป็นการการันตีว่าลูกจะมีเงินไว้รองรับค่าใช้จ่ายก้อนนีแน่นอน
- ค่าดูแลแม่พ่อกว่าคุณแม่คุณพ่อจะเลี้ยงูเราเติบใหญ่ท่านต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 7 หลัก จริงไหม?นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “ค่าน้ำนม”
- การเลี้ยงดูท่านในยามแก่เฒ่าแสดงความรักและความกตัญญูท่านเองก็ไม่อยากเป็นภาระของลูกหลานอาจมีการเตรียมเงินไว้ใช้สำหรับชีวิตในวัยเกษียณเรียบร้อยแล้วแต่ถ้าไม่ได้เตรียมหรือไม่เพียงพอล่ะ? คงต้องคิดกันแล้วล่ะว่า เราต้องดูแลท่านไปอีกกี่ปี? และเป็นจำนวนเงินทั้งหมดเท่าไร?
- สำหรับเงินก้อนนี้ ก็จัดว่าเป็น “Serious Money” คือเงินที่ขาดไม่ได้เหมือนกัน ถ้าขาดไปจะมีผลกระทบในทางลบทันที ถ้าไม่มีเราแล้ว คุณแม่คุณพ่อก็คงจะเป็นคนแก่ที่ยากจน ต้องกระเบียดกระเสียนในการใช้ชีวิต ใครที่ยังมีภาระประเภทนี้ก็ต้องนำจำนวนเงินเหล่านี้เป็นปัจจัยในการพิจารณาทำ “ทุนประกันชีวิต” ด้วยเช่นกัน
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วลองคำนวน
“ทุนประกันชีวิต” ที่เราควรจะมี
แล้วมาเปรียบเทียบกับที่เราได้ทำไว้แล้ว
ว่าเพียงพอและครอบคลุมภาระ
และความรับผิดชอบต่างๆ ที่เรามีแล้วหรือยัง?
“ทุนประกันชีวิต”
ช่วยให้ครอบครัวของเรา
ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้
“ทุนประกันชีวิต”
ช่วยล้างภาระหนี้สินที่เราได้สร้างไว้ทั้งหมด
“ทุนประกันชีวิต”
ช่วยให้ลูกได้เรียนจนจบตามที่ได้วางแผนไว้
“ทุนประกันชีวิต”
ช่วยให้พ่อแม่ยังมีเงินใช้จ่ายต่อไป
ไม่ว่า …
เราจะยังอยู่บนโลกใบนี้หรือไม่ก็ตาม
คุณว่าจริงไหม?
ขอบคุณครับ
#TickMahaesak
ใส่ความเห็น