Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543

Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543

Warning: preg_match_all(): Compilation failed: quantifier does not follow a repeatable item at offset 7 in /home/thlifefi/domains/thlifefinance.com/public_html/wp-content/plugins/seo-by-rank-math/includes/replace-variables/class-post-variables.php on line 543
+++ กู้..เท่าไร ดี??? | การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย
แนวคิด

+++ กู้..เท่าไร ดี???

กู้..ขนาดไหน ถึงดีกับเรา
A: เธอบ้านเรายังผ่อนอยู่ แต่รถก็อยากได้
B: ถ้าซื้อหมดนี่เธอจะผ่อนไหวไหมล่ะ?
ใช่แล้วครับจะผ่อนไหวไหม?

ลองคิดดูว่าถ้ากู้มาแล้วแต่เราต้องใช้ชีวิตอย่างกระเบียดกระเสียร ไม่ได้กิน,ไม่ได้เที่ยว หรือไม่ได้ทำอย่างที่อยากทำ นั่นก็คงจะไม่ใช่คำตอบที่ดีนักอย่างไรก็ดีการมีหนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ดีเสมอไปเพราะหนี้นั้นมี 2 ชนิด

1.หนี้ดี

เป็นหนี้ที่เกิดจากความจำเป็นหรือสร้างหนี้เพื่ออนาคต เช่น หนี้เพื่อการศึกษา, หนี้ซื้อบ้าน/คอนโดที่ถือว่าเป็นหนี้ดีเพราะเป็นการการลงทุนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นหนี้การศึกษาพัฒนาตนเองเพื่อตำแหน่งการงานที่ดีขึ้น หรือหนี้บ้านที่เราผ่อนแล้วได้ทั้งอยู่ได้ทั้งเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังนั้นหนี้ดีคือหนี้ที่สร้างแล้วเราสามารถคาดหวังชีวิตอนาคตที่ดีขึ้นได้

2.หนี้ฟุ่มเฟือย

เช่นการผ่อนซื้อสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะผ่อนซื้อของด้วยบัตรเครดิตหรือ ผ่อนรถหนี้ฟุ่มเฟือยเหล่านี้ถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่ดีเพราะส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อสินค้ามาเพื่ออุปโภคบริโภค ใช้แล้วก็หมดไปหรือไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มสวนหนี้ผ่อนรถนั้นเราถือว่าเป็นหนี้ฟุ่มเฟือยเพราะประโยชน์หลักของรถคือความสะดวกสบายของการเดินทาง ถ้าไม่มีรถเราก็สามารถเดินทางด้วยวิธีอื่นได้ นอกจากนี้พอซื้อรถแล้วมูลค่าก็ยังลดลงไปอีก

*** ในการวางแผนการเงินเราแนะนำว่าควรควบคุมปริมาณการผ่อนหนี้ที่ฟุ่มเฟือยให้อยู่ไม่เกิน 20% ของรายได้ต่อเดือน และเมื่อหากรวมหนี้ดีแล้วไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เพราะถ้าต้องจ่ายหนี้เยอะ ๆ

*** ทุกเดือนจะทำให้คุณเหลือเงินต่อเดือนน้อยลง นอกจากจะทำให้คุณอึดอัดเกินไปแน่นอนว่าเงินเก็บก็เหลือน้อยหรือไม่ได้เก็บเลย

*** สมติว่า ในกรณีที่ 1 นาย A มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน มีภาระผ่อนเต็มเกณฑ์ที่กำลังจะมีการพิจารณากันคือ 70% (21,000 บาท)ดังนั้นจะเหลือเงินใช้เพียง 9,000 บาท และถ้าหากนาย Aอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯที่มีค่าครองชีพสูง นาย A คงต้องใช้ชีวิตอย่างประหยัดเป็นแน่นอน ส่วนเงินเก็บไม่ต้องพูดถึงแน่ๆแต่ในทางกลับกัน

กรณีที่ 2 หากนาย A เลือกผ่อนสูงสุดเพียง 40% ของรายได้(12,000 บาท) นาย A จะเหลือเงิน 18,000 บาท และมีเงินใช้อีกเดือนละ 15,000 บาท ซึ่งถือว่าน่าจะไม่อึดอัดเกินไป

สำหรับคนกรุงเทพฯ และสามารถเลือกที่จะมีเงินเก็บเงินลงทุนอีก 3,000 บาท (แนะนำออมขั้นต่ำต่อเดือน10%) ซึ่งการมีเงินเก็บนี้จะสำคัญมากกับการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวถึงแม้ 3,000 บาทต่อเดือนจะดูไม่มากนักแต่ในระยะยาวเงินนี้จะสามารถช่วยสร้างความมั่งคั่งและต่อยอดความฝันได้เลย

ธัญญา โลหะนันทชัย, CFP®
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ฝ่ายวิจัยการลงทุน สายงานวิจัย SCBS

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย