+++ 1 ล้านบาทแรกมันยากตรงไหน

เงินล้าน” สำหรับใครบางคนอาจเป็นเรื่องไกลเกินฝัน ไม่ต้องพูดถึง 10 ล้าน 100 ล้าน หรือ 1,000 ล้าน บางคนคิดไปถึงขนาดว่าถ้าจะมีเงินล้านจริง ๆ คงต้องไปโกงเขามาหรือไม่ก็ต้องค้ายา

แต่ผมอยากจะบอกทุกคนว่า “เราสามารถสร้างเงินล้านได้ด้วยตัวเอง” ครับ “เพียงแค่เรารู้จักความมหัศจรรย์ของพลังอัตราดอกเบี้ยทบต้น” (Power Of Compound Interest)

“มีนักข่าวสัมภาษณ์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ว่าพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวาลคือพลังอะไร”

ใคร ๆ ก็คิดว่าไอน์สไตน์คงตอบว่า ตามทฤษฎีสัมพันธภาพที่ตัวเองค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่คำตอบของไอน์สไตน์ ทำเอานักข่าวเกือบตกเก้าอี้ เพราะเค้าตอบว่า

“The most powerful force in the universe is compound interest”

“พลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาลคืออัตราดอกเบี้ยทบต้น”

เรามาดูกันครับว่าทำไมไอน์สไตน์ถึงกล่าวเช่นนั้น สมมุติว่าเราออมเงิน 100,000 บาท โดยได้รับผลตอบแทน 10% ต่อปี ในสิ้นปีที่ 1 เงินของเราจะโตเป็นเงิน 110,000 บาท (เงินต้น 100,000 บาท ดอกเบี้ย 10,000 บาท)

หากยังลงทุนต่อเนื่อง โดยไม่ถอนเงินออกมา ในสิ้นปีที่ 2 เงินเราจะเติบโตเป็น 121,000 บาท (เงินต้น 110,000 บาท และดอกเบี้ย 11,000 บาท) เห็นมั้ยครับว่าเงินมันโคลนนิ่งตัวเองได้

และหากยังลงทุนอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้ถอนเงินออกมาเงินของเราก็จะถูกคำนวณทบต้นทบดอกไปเรื่อย ๆ เชื่อมั้ยครับว่าในปีที่ 10 เงินก้อนนี้จะเติบโตเป็น 259,374 บาท !!! เติบโตขึ้นถึง 259% (นี่ขนาดยังไม่ได้คิดการออมเพิ่มระหว่างปีนะครับ)

องค์ประกอบสำคัญในเรื่องของพลังอัตราดอกเบี้ยทบต้นทำให้ผลลัพธ์แตกต่างกันมี 3 อย่างครับ คือจำนวนเงินต้น อัตราผลตอบแทน และระยะเวลา เงินต้นกับอัตราผลตอบแทนทำงานร่วมกันดดยมีองค์ประกอบข้อที่ 3 คือ “ระยะเวลา” เป็นอัตราเร่ง

“ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นพลังของอัตราดอกเบี้ยทบต้น ด้วยการเปรียบเทียบการออมของคน 2 คนครับ”

นาก A ออมเงินปีละ 120,000 บาทเป็นเวลา 10 ปี แล้วหยุดออมปล่อยเงินไว้ในการออมแบบเดิมจนถึงปีที่ 20 รวมแล้วเป็นเงินต้น 1,200,000 บาท

นาย B ทยอยออมเงินด้วยความมีวินัย ปีละ 60,000 บาท ต่อเนื่องกัน 20 ปี รวมแล้วเป็นเงินต้น 1,200,000 บาทเท่ากัน หากแผนการออมเงินทั้ง 2 คนได้รับผลตอบแทนทบต้น 8% ต่อปีเท่ากัน คุณคิดว่าใครจะได้รับผลตอบแทนมากกว่ากันครับ ?

จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าจำนวนเงินออมที่ออมจะเท่ากันคือ 1,200,000 บาท แต่ผลลัพธ์กลับต่างกันถึง 1,087,912 บาท เพราะนาย A มีเงินต้นในช่วง 10 ปีแรก มากกว่า B เงินก้อนใหญ่ของนาย A ก็เลยสร้างผลตอบแทนก้อนใหญ่ก็ทบเข้าไปที่เงินต้น มันก็เลยเพิ่มพลังทวีให้กับแผนการออมของนาย A

ใน ขณะ ที่นาย B เงินออมในช่วงแรกน้อยกว่านาย A เงินของ นาย B ก็เลยสร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่านาย A นั่นเอง

สรุปแล้วการออมแบบนาย A ใช้ประโยชน์ของผลตอบแทนทบต้นได้มากกว่านาย B ครับ

“เห็น หรือยังครับ ออมก่อน รวยกว่า”

คราวนี้เรามาตั้งโจทย์การสร้างเงินล้านด้วยตัวเองกันครับ ถ้าเราตั้งโทย์ว่าจะมีเงินล้านใน 10 ปีข้างหน้าถามว่าจะมีวิธีใดบ้าง? ถ้าเราใช้วิธีหยอดกระปุกออมสินเก็บไว้ที่บ้าน เราก็จะต้องเก็บเงินให้ได้ปีละ 100,000 บาท ถ้าฝากประจำ อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เราก็ต้องเก็บเงินให้ได้ปีละ 89,536 บาท

ถ้าเราลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนตราสารหนี้ที่มี ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีที่ดีที่สุดได้ผลตอบแทนปีละ 4.82% และหากเราเชื่อว่าใน 10 ปีข้างหน้ากองทุนนี้จะทำผลตอบแทนได้เท่าเดิมเราก็ต้องลงทุนใหได้ปีละ 76,488 บาท

(ซึ่งบางคนแค่เพียงเก็บโบนัสที่ออกทุกปีเอามาออมก็น่าจะพอแล้ว) ถ้าเราลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้น กองทุนตราสารทุนที่มีผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีที่ดีที่สุดได้ผลตอบแทนปีละ 22.31% หากเราเชื่อว่าใน 10 ปีข้างหน้ากองทุนนี้จะทำผลตอบแทนได้เท่าเดิม

เราก็ต้องลงทุนปีละ 28,095 บาท หรือเพียงเดือนละประมาณ 2,000 กว่าบาท แค่นั้นเองซึ่งก็น่าจะพอสำหรับคนทั่ว ๆ ไปครับ จะเห็นว่าใคร ๆ ก็สร้างเงินล้านได้ด้วยตนเอง เพียงแค่มีระเบียบวินัยทางการเงิน มีความรู้ทางการเงิน และที่สำคัญต้อง “รอคอยความสำเร็จ” ได้ครับ

#มงคล ลุสัมฤทธิ์ (Wealth Designer)

บทความต้นฉบับ

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย