ประกันชีวิต

+++ ประกันชีวิตและประกันสังคมต่างกันอย่างไร?

จริงๆก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพ

   ประกันชีวิตบริหารโดยเอกชน และเรามีสิทธิเลือก แต่ประกันสังคมบริหารโดยหน่วยงานภาครัฐและบังคับซื้อ เลือกได้ในเรื่องบางเรื่องเท่านั้น

   ข้อแตกต่างที่หลายคนพูดถึงคือ การรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะรักษาทั่วไป หรือ นอนโรงพยาบาล มีความแตกต่างกันมาก

   โรงพยาบาลที่รักษาจะให้บริการกับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคมแบบระดับค่อนข้างแย่สุด-ระดับกลางๆ ยาที่ใช้กองทุนประกันสังคมเป็นผู้กำหนด ค่ารักษาพยาบาลถูกจำกัด ผู้ใช้บริการจึงรู้สึกไม่ดี-ดีแล้วแต่เข้าโรงพยาบาลไหน

   แต่การรักษาโดยใช้สิทธิประกันชีวิต จะมีวงเงินการรักษาพยาบาลที่ค่อนข้างชัดเจนตามที่ระบุในแผน จึงได้รับการบริการแบบปกติ ดีมากๆ หากวงเงินรักษาพยาบาลสูง ก็จะได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษแล้วแต่สถานการณ์

   ถ้าคุณมีทั้งประกันสังคมและประกันชีวิต คุณสามารถใช้ทั้ง 2 สิทธิ์ได้ ในกรณีที่สิทธิประกันสังคมของคุณอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนที่ร่วมรายการได้เลยโดยเบิ่กสิทธิ์ไหนก่อนก็ได้

  อันไหนเคลมอะไรได้การเงินจะทราบดีที่สุด ประกันสังคมเบิก ICU ได้ 100% พออาการดี ย้ายมาอยู่ห้องเดี่ยวของโรงพยาบาล ก็ใช้สิทธิประกันชีวิตต่อ

มาดูข้อสรุป

   ประกันชีวิต คือการเลือกด้วยตัวเอง ไม่มีใครบังคับ เหมือนกับเอาเงินไปวางไว้กับบริษัทประกันชีวิตรายใด โดยตกลงกันเป็นช้อๆว่าถ้า

  • 1 เกิดอุบัติเหตุ ฉันจะช่วยเงินค่ารักษานายด้วยจำนวนเท่านี้ๆนะตามแผนที่เลือกไว้
  • 2 เจ็บป่วย ถ้าเล็กๆน้อยๆนายก็รักษาไปเองนะกินยาหาหมอไปนะ แต่ถ้าหนักหนาต้องนอน รพ ฉันจะช่วยค่าใช้จ่ายนายเท่านี้ๆนะตามแผนที่เลือกไว้
  • 3 ถ้านายป่วยหนักทำงานไม่ได้ ฉันจะช่วยค่ากินอยู่เท่านี้ๆนะชดเชยรายได้ให้นายเอง
  • 4 ถ้านายพิการ ฉันจะช่วยนายเงินค่าลี้ยงดูเบี้ยที่ชำระตัวสัญญาหลัก ก็หยุดชำรได้นะ
  • 5 ถ้านายเสียชีวิต ฉันจะช่วยเบิ่กวงเงินประกันชีวิตมาให้ลูกเมียพ่อแม่นายได้ทันที ไม่ต้องรอขอเงิน ฟ้องร้องจากใครได้เเน่

   ส่วนประกันสังคมเป็นภาคบังคับของรัฐ ตามนโยบายสร้างสวัสดิการสังคม โดยคนที่ทำงานในระบบ (ก็ลูกจ้างกินเงินเดือนทั้งหลายนั่นแหละ จะเว้นไม่พูดถึงประกันสังคมแบบอื่นๆ) นอกจากภาษีที่ต้องคำนวณแล้วก็ต้องหักเงินส่วนหนึ่ง5% ของเงินเดือน แล้วบังคับให้นายจ้าง ใส่เพิ่มอีก5% แล้วหลวงก็ออกให้อีก 5%

   เท่ากับว่าคนที่อยู่ในระบบทุกเดือนมีเงิน 15 % (แต่ไม่เกิน 750 บาท) ไปกองสะสมไว้ที่หลวง (กองทุน ปกส.) อันนี้แหละเป็นเหตุให้บางบริษัทไม่ยอมเอาชื่อพนักงานเข้าระบบ แต่หลบๆอยู่จะได้ไม่ต้องเสีย 5% ส่วนของนายจ้างไงแล้วมาอ้างอีกว่าดีจะได้ไม่ต้องถูกหัก5%

  ซึ่งที่จริงเงินไม่ได้หายไปไหนแต่จะไปกองรออยู่ ระหว่างที่กองไว้ กองทุนก็มีสิทธิ์เอาเงินไปออกดอกออกผลสร้างประโยชน์ ให้เราเงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม
แบ่งไปไหนบ้าง!? เงินของเรา เขาทำอย่างไร เราต้องรู้

– 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี
โดยเงื่อนไขการได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่ออายุครบ 55 ปี) คืน คือ

  • 1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท
  • 2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท
  • 3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ

– กรณีจ่ายครบ 15 ปีเป๊ะๆ จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติ 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนตาย

– กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)

สมมติเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท = 3,000 บาท) + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือน ไปจนตาย

   กรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แต่เสียชีวิตซะละ กรณีนี้จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญที่ได้รับ เช่น รับรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท ตายปุ๊บ รับ 63,750 บาท

สรุปว่าประกันสังคม มีข้อตกลงกับเจ้าของเงินคือ

  • 1ถ้านายป่วยฉันจะจ่ายเงินให้รพ.ที่นายเลือกไว้และไปรักษานะ
  • 2 ถ้านายเกิดถึงขั้นพิการฉันจะช่วยเงินนายเท่านี้ๆนะ
  • 3 ถ้าตายเสียชีวิตฉันจะคืนเงินที่นายเก็บไว้ทั้งหมด (ไอ้ 5%นั่นแหละ)ให้ลูกเมียนายนะ
  • 4 ถ้านายไม่ตายก่อน 55 ถึงเวลานั้นฉันจะคืนให้นายอยู่ดีนะ
  • 5 จะคลอดบุตร/จะพิการ/จะตกงาน/จะเกษียณอายุเรามีเงินช่วยนายนะ

หมอประกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคประกันสังคม

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย