สร้างความมั่นคง…..เพื่อ…..เกษียณอย่างสบาย

ก่อนจะวางแผนเพื่อการเกษียณ ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้

๑ ต้องการจะเกษียณเมื่ออายุเท่าไร

๒ รายได้ที่ต้องการใช้ต่อเดือนเมื่อเกษียณ

๓ คาดว่าจะมีอายุโดยเฉลี่ยหลังเกษียณประมาณกี่ปี

หลายคนอาจคิดว่าเครื่องมือต่างๆ ที่ภาครัฐสนับสนุน เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจะเพียงพอ สำหรับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ แต่จริงๆ แล้วเครื่องมือเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่อาจยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชีวิตในทุกด้าน ด้วยเหตุนี้เราจึงควรวางแผนทางการเงินเพื่อที่จะทำให้มีเงินสำรองมากพอไว้ใช้ในชีวิตบั้นปลายได้ตามวิถีการดำเนินการชีวิตในแบบที่ต้องการหลังเกษียณ ต่อไปนี้ คือวิธีการคำนวณว่าหลังเกษียณอายุควรมีเงินออมอย่างน้อยเท่าไร เพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย

– ผสมผสานการออมเงินกับการลงทุนรูปแบต่างๆ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ประกันชีวิต เพราะเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้จะให้ผลตอบแทนเป็นระยะๆในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินคืน ทำให้บุคคลมีรายได้ไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ

– หลักมาตรฐานการประเมินรายได้ที่ควรมีไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณต่อเดือนควรอยู่ที่ 70% ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนใน 5 ปี สุดท้ายก่อนเกษียณ เช่น หากเรามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนใน 5 ปี สุดท้ายก่อนเกษียณที่ 30,000 บาท รายได้ที่ควรมีไว้ใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณคือ 21,000 บาท

– ประมาณการระยะเวลาที่คาดว่าจะอยู่หลังเกษียณ โดยเทียบจากสถิติอายุเฉลี่ยของคนไทย ประจำปี พ.ศ.2555 ผู้ชายอายุยืนประมาณ 70 ปี โดยประมาณและส่วนผู้หญิงจะมีอายุประมาณ 76 ปี โดยประมาณ หากเป็นเพศหญิงและเกษียณตอนอายุ 60 ปี ก็ควรมีเงินสำรองไว้ใช้อย่างน้อย 16 ปี

– หากต้องใช้เดือนละประมาณ 21,000 บาท ก็ควรหาแหล่งรายได้ประจำ ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินคืนจากการประกันชีวิตแบบบำนาญไว้จากเงินออมก้อนใหญ่ที่เตรียมไว้ก่อนเกษียณ

ปัจจุบันรัฐบาลออกกฏหมายให้ประชาชนซื้อกรมธรรม์แบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าจำนวนเงินออมในกรมธรรม์แบบบำนาญต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF แล้วรวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท

Thanakrit

การเงิน การออมเงิน ประกันชีวิต และประกันภัย